
มารู้จักเทสกาลงาน " Diwali (ดีวาลี) หรือ Deepavali (ดีพาวลี)
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
คุณ papashow
ประมาณเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายนของทุกๆปีหรือตรงกับช่วงหลังออกพรรษาของบ้านเรา ที่อินเดียจะมีเทศกาลประจำปีเรียกว่าเทศกาล Diwali (ดีวาลี) หรือ Deepavali (ดีพาวลี) จะเรียกแบบที่หนึ่งหรือที่สองก็ได้ Diwali เป็นภาษาฮินดี ส่วน Deepavali เป็นภาษาสันสกฤต Diwali หรือ Deepavali หมายความว่าแถวแห่งตะเกียง เป็นเทศกาลแห่งการประดับไฟของชาวฮินดู
ชาวอินเดียที่เป็นฮินดูจะเฉลิมฉลองเทศกาลนานถึงห้าวัน แต่จะมีหนึ่งวันซึ่งเป็นวัน Big Celebration (วันฉลองใหญ่) แต่ละครอบครับจะกระหน่ำจุดประทัดตั้งแต่ตีสี่ ใครมีทุนมากก็จะจุดทีเดียวเป็นตับเสียงดังติดต่อกันไม่ขาดสาย
ประเพณีนี้ถือว่าเป็นสัญญลักษณ์แห่งชัยชนะของแสงสว่างเหนือความมืดมนเป็นสัญญลักษณ์แห่งความดีชนะความชั่วและเป็นประเพณีที่สำคัญที่สุดประเพณีหนึ่งของอินเดีย อนึ่งประเพณีนี้ถือว่าเป็นการรำลึกถึงการกลับมาของพระรามสู่เมืองอโยธยาหลังจากที่ออกจากเมืองไปถึง 14 ปี
ชาวฮินดูจะประดับประดาบ้านเรือนของตนเอง จุดตะเกียงหรือประทีปทางทิศตะวันออกและแจกของหวานแก่เพื่อนบ้านและญาติพี่น้องในช่วงเทศกาลนี้ชาวฮินดูจะทำข้าวทิพย์ถวายเจ้าแม่ลักษมีเทพธิดาแห่งความมั่งคั่งอีกด้วย และแต่ละครอบครัวจะจับจ่ายซื้อของกันอย่างสนุกสนานโดยเฉพาะเสื้อผ้าชุดใหม่เพื่อสวมใส่ในวันเทศกาลนี้นอกเหนือจากนั้น
ก่อนถึงวันเทศกาลแต่ละครอบครัวจะตระเตรียมอุปกรณ์ทำลายความมืดมิดและความเงียบกันอย่างขะมักเขม้นล่วงหน้าเป็นอาทิตย์เลยทีเดียว นั่นก็คืออุปกรณ์จำพวก ประทัด ดอกไม้ไฟ พลุ เป็นต้นชาวอินเดียที่เป็นฮินดูจะเฉลิมฉลองเทศกาลนานถึงห้าวัน แต่จะมีหนึ่งวันซึ่งเป็นวัน Big Celebration (วันฉลองใหญ่) แต่ละครอบครับจะกระหน่ำจุดประทัดตั้งแต่ตีสี่ ใครมีทุนมากก็จะจุดทีเดียวเป็นตับเสียงดังติดต่อกันไม่ขาดสาย ใครที่เบี้ยน้อยหอยน้อยก็เว้นระยะจุดหน่อยเพื่อจะได้ไม่หมดก่อนคนข้างบ้าน ทุกบ้านร่วมใจกันจุดพร้อมกัน จะไม่มีใครออกมาโวยวายว่าเสียงดังรบกวน แม้จะหนวกหูเพียงใดก็ต้องทน เพราะมันเป็นเทศกาลปีหนึ่งมีแค่ครั้งเดียว ที่สำคัญไม่ใช่เฉพาะชาวฮินดูเท่านั้นที่เฉลิมฉลองเทศกาลนี้โดยการจุดประทัด เล่นดอกไม้ไฟ คนที่นับถือศาสนาอื่นก็ร่วมสนุกสนานด้วยเช่นกันท่านผู้อ่านลองคิดดูก็แล้วกันว่าเสียงจะดังขนาดไหนและกลุ่มควันที่เกิดจากประทัดที่ถูกจุดจะปกหนาคลุมท้องถนนมากน้อยเพียงใด ในวันฉลองใหญ่ผมขับมอเตอร์ไซคู่ชีพไปตามท้องถนนเพื่อเช็คเรทติ้งดูว่ามันยิ่งใหญ่แค่ไหน ถ้าจะให้เปรียบก็คงเหมือนกับขับรถฝ่าเข้าไปในดงสงครามย่อยๆ เลยครับนอกจากชาวอินเดียจะชื่นชอบเทศกาลนี้แล้ว ผมก็ชื่นชอบด้วยเช่นกันเพราะเป็นเทศกาล “กินฟรี”
เนื่องจากว่าในปีหนึ่งมีเทศกาลนี้แค่ครั้งเดียว ผมจึงรับบัตรเชิญตะลอนทัวร์กินฟรีตั้งแต่เช้ายันเย็น “อิ่มจนท้องแทบแตก”จึงได้แต่คร่ำครวญว่า “อยากให้มี Diwali ทุกเดือนจัง!”





