( บันทึกข้อมูลจาก : แล่ม จันทร์พิศา โล )



การเดินทางแสวงบุญ หรือ สักการบูชาพระพิฆเนศ
ชาวอินเดียเรียกว่า “ยาตรา” สู่เทวสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระพิฆเนศ รวม 8 แห่ง ซึ่งเรียกว่า อัสตะวินายัก อันหมายถึง สถานที่ประดิษฐานองค์ พระสวายัมภูคณปติ (พระพิฆเนศ) ที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ซึ่งมีอายุกว่า 4,000 ปี ที่ชาวอินเดียเชื่อกันว่า เป็นแผ่นดินถิ่นกำเนิด และสถานที่ที่องค์พระพิฆเนศเคยมาปรากฏตัวให้ผู้ที่เคารพศรัทธาได้พบเห็นพระองค์ท่าน
อัสตะวินายัก หรือ เทวสถาน 8 แห่ง
อันเกี่ยวเนื่องกับองค์พระพิฆเนศ คือ 1.เทวสถานศรีสิทธิวินายัก เมืองสิทธาเตก 2.เทวสถานคีรีจัตมากา เมืองเลนยาดรี 3.เทวสถานศรีวิฆเนฮาร 4.เทวสถานศรีมหาคณปติ เมืองรันยันกาวน์ 5.เทวสถานศรีจินดามณี เมืองเธอูร์ 6.เทวสถานศรีบัลลาเลศวรา เมืองปาลี 7.เทวสถานศรีวราด์วินายัก เมืองมะฮัด 8.เทวสถานศรีมยุเรศวรา หรือ โมเรศวา เมืองโมเรกาวน์
เทวสถานแต่ละแห่ง ตั้งอยู่ในเมืองต่างๆ ห่างกันหลายสิบกิโลเมตร บางแห่งกว่า 100 กิโลเมตร ก็มี การเดินทางโดยรถโค้ชสำหรับนักท่องเที่ยว ในแต่ละแห่งจะต้องใช้เวลากว่า 3 ชม. เพราะถนนหนทางในอินเดีย ยังอยู่ในขั้นทุรกันดารจริงๆ ทั้งคับแคบและขรุขระ การเดินทางจึงเต็มไปด้วยความเหนื่อยยากลำบากพอสมควร
หากคิดได้ว่า การเดินทางในครั้งนี้ เพื่อแสวงบุญและขอพรจากองค์ พระพิฆเนศ ในแผ่นดินถิ่นกำเนิดของพระองค์ท่าน ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในการเดินทางก็จะหมดไปโดยสิ้นเชิง เพราะสิ่งที่ได้รับจากองค์พระพิฆเนศทั้ง 8 แห่ง ล้วนเป็นความปลาบปลื้มปีติอย่างแท้จริง
( บันทึกข้อมูลจาก : แล่ม จันทร์พิศา โล )

















ขั้นตอนในการบูชา
1. จุดเทียนไข หรือตะเกียงน้ำมัน ธูป กำยาน 2. กล่าวคำบูชาพระพิฆเนศ แล้วจึงตามด้วยการสวดบูชาเทพองค์อื่นๆ 3. ถวายเครื่องบูชาสักการะ กล่าวคำถวาย และอัญเชิญมารับเครื่องถวาย (กล่าวเป็นภาษาไทยก็ได้) 4. สวดมนต์ภาวนา ทำสมาธิ 5.ถวายไฟ โดยใช้เทียน หรือสำลีชุบน้ำมันเนย ไว้บนถาด แล้วแล้วยกถาดนั้นวนเป็นวงกลม (ตามเข็มนาฬิกา) 3 รอบ แล้วใช้ฝ่ามืออังไฟที่วนนั้นมาแต่ที่หน้าผาก เพื่อให้เกิดความสว่างแก่ดวงปัญญา และชีวิต หรือแตะบริเวณอื่นๆ ที่มีอาการปวดเจ็บก็ได้ จากนั้นแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ เพื่อนมนุษย์ ฯลฯ เป็นอันเสร็จพิธี
( บันทึกข้อมูลจาก : แล่ม จันทร์พิศา โล )